ประเพณีสำคัญ

เวียดนาม (Vietnam)

เกร็ดความรู้และวัฒนธรรมประเทศเวียดนาม
               ประเทศเวียดนาม มีรูปร่างคล้ายตัว S ทอดตัวยาวเหยียดไปตามแหลมอินโดจีน ด้านตะวันออกติดทะเลจีนใต้ ด้านเหนือติดจีน ด้านตะวันตกติดลาว และกัมพูชา สามในสี่ของพื้นที่เป็นภูเขาและป่า ครอบคลุมทะเล ไหล่ทวีป และหมู่เกาะนับพันเกาะจากอ่าวตังเกี๋ยจรดอ่าวไทย รวมทั้งหมู่เกาะสแปรตลีและพาราเซลที่จีนและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายประเทศแย่งกันอ้างกรรมสิทธิ์ สาเหตุเป็นเพราะมีแหล่งน้ำมันใต้ดินที่อุดมสมบูรณ์
               เวียดนามมีการผสมผสานด้านวัฒนธรรม จากหลายชนชาติ เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 432 เวียตนามได้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลจากจักรพรรดิจีนนานกว่าพันปี ดังนั้น สิ่งก่อสร้าง อาหารการกิน จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับวัฒนธรรมของจีนมาก และยังมีความหลากหลายของผู้คนของชาวเขาหลากหลายชนเผ่าทางภาคเหนือของเวียตนาม และเมื่อสมัยที่ฝรั่งเศสเข้ามาปกครอง เวียตนามก็ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมฝรั่งเศสด้วย ได้แก่ ตึกที่อยู่อาศัยที่ดูทันสมัย เป็นตึกสีเหลืองสไตล์โคโลเนียลที่มีให้พบเห็นมากมาย ดังนั้นวัฒนธรรมต่างๆ ของเวียตนามจึงมีการผสมผสานกันเป็นอย่างมาก ทั้งด้านที่อยู่อาศัย เทศกาล อาหาร เป็นต้น
วิถีชีวิตของชาวเวียดนาม
bเวียดนามมีความสัมพันธ์กับจีนมาก่อนการปฏิวัติระบบการปกครอง จึงทำให้มีความเชื่อ ศิลปะ
วิถีการดำรงชีวิต ตลอดจนประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ ที่ใกล้เคียงกับจีน ลัทธิความเชื่อต่างๆ ของจีนได้แพร่ขยายมายังเวียดนามด้วย ทั้งลัทธิขงจื๊อที่ให้ความสำคัญต่อการนับถือบรรพบุรุษ ลัทธิเต๋า ที่สอนเรื่องความสมดุลของธรรมชาติ  รวมไปถึงศาสนาพุทธนิกายมหายานที่สอนเรื่องกรรมดีและกรรมชั่ว แม้ว่ารัฐบาลคอมมิวนิสต์ของเวียดนามจะทำลายความเชื่อและศาสนาส่วนหนึ่งไปในช่วงปฏิวัติระบบการปกครอง แต่ปัจจุบันมีการผ่อนปรนมากขึ้น โดยอนุญาตให้มีนักบวชในศาสนาพุทธและศาสนาอื่นๆ ได้
อีกทั้งพลเมืองส่วนหนึ่งยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมสืบทอดมาจน ถึงปัจจุบัน
b ชาวเวียดนามยังมีความนับถือสวรรค์หรือที่เรียกว่า "องเตร่ย (Ong Troi)" และเชื่อว่าทุกหนทุกแห่งมีเทพเจ้าสถิตย์อยู่ ไม่ว่าจะเป็นเทพเจ้าดิน เทพเจ้าน้ำ หรือเทพเจ้าอื่นๆ ดังนั้น นอกจากวัดในศาสนาพุทธ
(จั่ว - Chua) ศาลาประชาคม (ดินห์ - Dinh) หรือแท่นบูชาจักรพรรดิในอดีต (เดน - Den) แล้ว ยังมีการตั้งแท่นบูชาเทพเจ้า (เหมียว - Mieu) กระจายอยู่โดยทั่วไป ประชาชนนิยมนำดอกไม้ ธูป เทียน และผลไม้มาสักการะบูชาในวันที่ 1 และ 15 ค่ำ นอกจากนี้ คำสอนของขงจื๊อก็ยังคงอิทธิพลอยู่ในเวียดนาม ทำให้ชาวเวียดนามให้ความสำคัญกับการเซ่นไหว้บรรพบุร

ศิลปวัฒนธรรมประเทศเวียดนาม

               ด้านศิลปวัฒนธรรมของเวียดนาม มีความแตกต่างกับศิลปวัฒนธรรมของไทยอย่างมาก ที่เป็น อย่างนี้เป็นเพราะเวียดนามถูกปกครองโดยประเทศจีนมาหลายครั้งหลายหน จนอาจเรียกได้ว่า อารยธรรม วัฒนธรรม ของเวียดนาม คือ วัฒนธรรมของประเทศจีน นั่นเอง โดยเฉพาะทางด้านศิลปของโบราณสถาน ต่าง ๆ อาทิ พระราชวัง วัด สุสาน ฯลฯ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันจนไม่สามารถแยกออกให้เห็นอย่าง เด่นชัด แม้ในช่วงหลังมานี้ เวียดนามอาจได้รับอิทธิพลจากประเทศฝรั่งเศล และญี่ปุ่นอยู่บ้าง แต่ใน ภาพรวมแล้วจะคล้ายคลึงกับประเทศจีน และมีหลักฐานให้เห็นอยู่ทั่วไปบริเวณสองข้างทางที่พวกเราผ่านไป เกือบทุกถนน

               ถ้าจะกล่าวถึงวัฒนธรรมนั้นสามารถ แยกแยะออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้หลากหลายในที่นี้จะ กล่าวเปรียบเทียบระหว่างวัฒนธรรมเวียดนาม กับ วัฒนธรรมไทยหรืออื่น ๆ เท่าที่จะค้นคว้าได้ ดังนี้

วัฒนธรรมทางด้านภาษา                ภาษาของเวียดนามในช่วงแรกใช้อักษรจีนมาตลอดจนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๓ จึงเปลี่ยนมาใช้ อักษรโรมัน (quoe ngu) และถ้าสังเกตจริง ๆ แล้วเป็นวัฒนธรรมของฝรั่งเศล และเมื่อนำมาเปรียบเทียบ การออกเสียงหรือความหมายของคำแล้วจะพบว่า ความใกล้เคียงของภาษาไทยกับภาษาลาวจะใกล้เคียง กันมากกว่า ภาษาเวียดนาม ดังตัวอย่างง่าย ๆ ต่อไปนี้

               ในส่วนของการใช้สัญลักษณ์ของป้ายทะเบียนท้ายรถยนต์ มีความแตกต่างกันมาก เช่นกัน ดังรายละเอียดต่อไป
วัฒนธรรมพื้นบ้าน                สิ่งก่อสร้าง รูปทรงและศิลป์การตกแต่งนับตั้งแต่ตึกรามบ้านช่องของคนเวียดนามยังคงมี รูปลักษณ์ของจีนอยู่มากแต่บางพื้นที่ก็มีศิลป์ของฝรั่งเศส หรือ ญี่ปุ่น อยู่อย่างกลมกลืน แต่เท่านี้สิ่งสังเกต ศิลป์ของเวียดนามจากสถานที่สำคัญๆ แม้จะเป็นศิลป์วัฒนธรรมของจีนแต่ในส่วนที่เป็นการตกแต่งดูจะมี ความอ่อนไหวกว่าเล็กน้อย แต่ถึงอย่างไรก็มองเหมือนศิลป์จีนชัดเจน
ศิลปพื้นบ้าน                ศิลปพื้นบ้านที่เด่นๆเท่าที่สังเกตก็คล้ายกับของไทย เช่น เครื่องจักรสาน เครื่องปั้นดินเผาควรทำ โดยไฟจากกระดาษ แต่ในเรื่องของดนตรียังมีกลิ่นไอของเพลงจีนอยู่อย่างแนบแน่น เครื่องดนตรีเพียง ๒ - ๓ ก็สามารถสร้างความไพเราะได้อย่างน่าชม



เทศกาลเต็ด (Tet) หรือ “เต็ดเหวียนดาน (Tet Nguyen Dan)”
               โดยปกติแล้ว ชาวเวียตนามจะเฉลิมฉลองเทศกาลต่างๆ อย่างน้อย 3-7 วัน ติดต่อกัน โดยมีเทศกาลทางศาสนาที่สำคัญที่สุด คือ “เต็ดเหวียนดาน” (Tet Nguyen Dan) มีความหมายว่าเทศกาลแห่งรุ่งอรุณแรกของปี ที่ชาวบ้านนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า เทศกาลเต็ด เทสกาลจะเริ่มต้นขึ้น 1 สัปดาห์ก่อนจะมีวันขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติ คือ ระหว่างปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ในวันขึ้น 15 ค่ำ ของวันที่ดวงอาทิตย์อยู่ไกลเส้นศูนย์สูตรมากที่สุดในฤดูหนาว กับวันที่กลางวันยาวเท่ากับกลางคืน ในฤดูใบไม้ผลิ เทศกาลนี้เป็นการเฉลิมฉลองในภาพรวมทั้งหมดของความเชื่อในเทพเจ้า ลัทธิเต๋า ขงจื๊อ และศาสนาพุทธ รวมถึงการเคารพบรรพบุรุษ

เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง               จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ชาวบ้านจะประกวดทำขนมเปี๊ยะโก๋ญวนหรือบันตรังทู และมีการจัดขบวนเชิดมังกร เพื่อแสดงความเคารพต่อพระจันทร์

ประเพณีบูชาเจ้าแม่และเข้าทรง ในประเทศเวียดนาม
               พิธีบูชาเจ้าแม่และเข้าทรงเป็นกิจกรรมความเชื่อแบบโบราณแต่แฝงไว้ด้วยคุณค่าวัฒนธรรมทางจิตวิญญาณของชาวเวียดนามซึ่งการเข้าทรงได้รับการถือเป็นศิลปะการแสดงที่สมบูรณ์ที่สุดเพราะมีทั้งการเล่นดนตรี การร้องเพลงและฟ้อนรำ แม้จะผ่านกาลเวลามานานแสนนานแต่ประเพณีนี้ยังคงได้รับการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันและโดยคุณค่าวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์นี้ การบูชาเจ้าแม่และเข้าทรงของประชาชนเวียดนามกำลังได้รับการยื่นเสนอต่อองค์การยูเนสโก้ ขอให้รับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรม
               การบูชาเจ้าแม่เป็นประเพณีที่มีมาแต่เดิมนานในเวียดนามโดยเริ่มมาจากการบูชาบรรดาเทพธิดาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ซึ่งบรรดาเทพธิดานั้นเป็นตัวแทนของธรรมชาติ เช่น เจ้าแม่ธรณี เจ้าแม่คงคา เจ้าแม่โพสพ เป็นต้น ต่อมาภายหลังประชาชนได้มีการเชิดชูบูชาบรรดาวีรสตรีของชาติ เช่น บรรดาเจ้าหญิง พระมเหสีหรือผู้ให้กำเหนิดอาชีพของหมู่บ้านเป็นเจ้าแม่โดยถือว่า เป็นทั้งเทพธิดาที่มีอำนาจลึกลับศักสิทธิ์และเป็นทั้งบุพการีที่มีใจการุญคอยให้ความคุ้มครองอย่างใกล้ชิดในชีวิตแห่งจิตวัญญาณของประชาชน ศ.ดร. NgoDucThinh อดีตหัวหน้าสถาบันศึกษาวัฒนธรรมพื้นบ้านของเวียดนามเผยว่า"การบูชาเจ้าแม่ก็คือการบูชาบุพการีที่ถือเป็นเทพธิดาซึ่งเป็นเทพเจ้าในความเชื่อของมนุษย์ นั่นคือผู้ที่สร้างอวกาศ ดูแลอวกาศ คอยให้ความคุ้มครองแก่มนุษย์และบันดาลประโยชน์สุขพื้นฐาน 3 ประการให้แก่มนุษย์คือ สุขภาพ เงินทองและโชคลาป การบูชาเจ้าแม่เน้นในความสนใจต่อมนุษย์ที่ยังมีชีวิตด้วยเหตุฉนั้นจึงดูเหมือนว่า สังคมยิ่งทันสมัย การบูชาเจ้าแม่ก็ยิ่งพัฒนาเพราะใครๆก็ต้องการสุขภาพ เงินทองและยศถาบรรดาศักดิ์กันทั้งนั้น”
               ตามความเชื่อของมนุษย์ อวกาศแบ่งเป็น 3 ภาคหรือ 4 ภาค แต่ละภาคมีสัญลักษณ์เป็นสีแตกต่างกัน อย่างเช่น ภาคฟ้าเป็นสีแดง ภาคดินเป็นสีเหลือง ภาคน้ำเป็นสีขาวและภาคป่าเป็นสีเขียวโดยเจ้าแม่ได้กลายร่างเป็นเทพเจ้าดูแลแต่ละภาค ฉนั้นชาวเวียดจึงถือเจ้าแม่เป็นตัวแทนที่อมตะแห่งจิตวิญญาณของตนซึ่งหนึ่งในพิธีสำคัญในการบูชาเจ้าแม่คือ พิธีเข้าทรงเป็นพิธีที่มีการเล่นดนตรี ร้องเพลงและฟ้อนรำด้วย เพลงที่ร้องในพิธีเข้าทรงของชาวเวียดคือ เพลง ChauVan พิธีเข้าทรงมักจะจัดขึ้นที่วัดในบรรยากาศที่เงียบสงบ การเตรียมงานทำพิธีเข้าทรงต้องทำอย่างละเอียดรอบคอบโดยมีถาดเครื่องเซ่นไหว้ที่จัดแจงอย่างสวยงาม มีแสงเทียนริบหรี่สร้างบรรยากาศแห่งความลึกลับของเวทีเข้าทรง ลักษณะการเข้าทรงก็คือการกลายร่างเดิมมาเป็นร่างใหม่ที่วัญญาณของเทพเจ้าหรือเทวดาชั้นสูงมาเข้าทรงเพื่อประทานพรให้มนุษย์มีสุขภาพแข็งแรง มีโชคลาป ผู้ที่เป็นร่างทรงจะมีกริยาท่าทางและเสียงพูดคล้ายผู้มาเข้าทรง นาง Lien ศีลปินผู้สูงอายุและเคยเข้าร่วมพิธีเข้าทรงกล่าวว่า“ดิฉันเป็นศีลปินในคณะนาฏศิลป์แห่งชาติ เคยสวมบทบาทแสดงมามากมายหลายรูปแบบ แต่เมื่อมาร่วมพิธีเข้าทรงครั้งนี้ มีความรู้สึกว่า ผู้เป็นร่างทรงแสดงบทบาทของแต่ละบุคคลได้ดีเหมือนศีลปินในบทละคร ไม่ว่าจะเป็นบทนักรบต่อสู้กับศัตรูหรือบทอื่นๆ”
               โดยผ่านร่างทรงของเทพเจ้าในประวัติศาสตร์ บรรดาบรรพบุรุษที่มีคุณความดีต่อชาติบ้านเมืองได้รับการเคารพบูชาซึ่งนักศึกษาวัฒนธรรมทั้งในและต่างประเทศล้วนมีความเห็นเดียวกันว่า ความเชื่อในการบูชาเจ้าแม่และพิธีเข้าทรงนั้นมีคุณค่าทางวัฒนธรรมที่ดีงามของเวียดนามและมีเงื่อนไขอย่างสมบูรณ์ในการยื่นขอรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของโลกจากองค์การยูเนสโก้
ขอบคุณที่มา : http://vovworld.vn/th-TH/วัฒนธรรม/ประเพณีบูชาเจ้าแม่และเข้าทรง/89903.vov



ที่มา: http://www.lampangvc.ac.th/lvcasean/page_vietnam3.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น